บทความ

“พวงมาลัยรถสั่น” อยากรู้ว่าเกิดจากอะไร? แล้วจะอันตรายมั้ย?

อาการที่ว่ามาข้างต้นเกิดได้จาก…

“ยางรถเสื่อมสภาพ”
สาเหตุเบื้องต้นของ “พวงมาลัยสั่น” ที่พบมากก็คือ “ยางรถ” เรานี่แหละที่อาจเสื่อม ไม่ว่าจะเบี้ยวผิดรูป ผิวยางขรุขระ หรือหน้ายางบวม ทำให้เวลาขับอาจเจอปัญหาล้อสะดุด นอกจากจะทำให้ตัวรถมีปัญหา ยังส่งผลถึงพวงมาลัยอีกด้วย

“ตั้งศูนย์ถ่วงล้อไม่สมดุล”
หลายคนอาจไม่รู้ว่าการตั้งศูนย์ล้อมาแบบไม่สมดุล นี่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุให้ “พวงมาลัยสั่น” ได้เช่นกันนะ ซึ่งอาการสั่นมักจะโผล่มาตอนเราเร่งเครื่อง พอล้อหมุนมันจะส่งแรงเหวี่ยงมาที่พวงมาลัยของรถ ทำให้พวงมาลัยช่วงล่างหลวมเลยเกิดอาการสั่น

“จานเบรกคดผิดรูป”
ต้องบอกแบบนี้ว่า เมื่อ “จานเบรก” เกิดอาการคดผิดรูป
มันจะส่งผลกับเราในตอนเหยียบเบรกทำให้เกิดอาการสั่น
ลามมาถึง “พวงมาลัย” แถมยังทำให้เกิดอันตรายได้อีก เพราะเราจะควบคุมรถได้ยากขึ้นนั่นเอง

“ลูกปืนดุมล้อเสื่อม”
อาการเสื่อมสภาพของ “ลูกปืนดุมล้อ” มักเกิดได้จากการที่เราขับรถลุยน้ำบ่อยๆ ซึ่งอาการเสื่อมนี้จะส่งผลให้ “พวงมาลัยสั่น” แต่ส่วนใหญ่จะเกิดแค่ตอนเลี้ยวรถเท่านั้นนะ แต่ถ้าขับทางตรงไม่มีปัญหา

“พวงมาลัยไม่ตรง”
เวลาเราขับรถเคยเจออาการ “พวงมาลัยหมุนเอง” บ้างมั้ย? เพราะนั่นคือสัญญาณว่ามันเริ่มผิดปกติ อาจเกิดจากแกนพวงมาลัยเริ่มสึกหรอ และเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการสั่น ส่วนใครที่ใช้รถกระบะ ก็อาจเป็นไปได้ว่า “กระปุกพวงมาลัย” เริ่มหลวม ต้องรีบเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย

“พวงมาลัยหนักเกินไป”
อาการ “พวงมาลัยสั่น” เกิดได้จากการที่พวงมาลัยรถมีน้ำหนักมากเกินไป เช่น ปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์รั่ว หนักเพราะยางอ่อน หรือลมยางไม่ถึง เหล่านี้มีผล

       ทั้งหมดคือที่มาของอาการ “พวงมาลัยสั่น” แต่ต้องบอกแบบนี้ว่า เราต้องไม่ละเลยปัญหานี้ เพราะมันไม่ใช่แค่ทำให้เราขับไปรำคาญเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงการ “ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ คุณภาพยาง” รวมทั้ง “ระบบเบรก” อีกด้วย ไม่ว่ารถคุณจะเก่า หรือใหม่ ทางที่ดีรีบเอาเข้าศูนย์บริการให้ตรวจสอบแก้ไข เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่