บทความ

ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการต่อภาษีรถยนต์ เจ้าของรถทุกคนควรทำการศึกษาถึงเงื่อนไขรายละเอียดในการเสียภาษีรถยนต์ให้ละเอียด โดยเงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ นั้นมีดังนี้ค่ะ

  • การต่อภาษีรถยนต์ในแต่ละครั้งจะต้องทำการต่อในปีที่ภาษีกำลังจะหมดอายุ เพื่อให้คุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ก่อนวันที่จะหมดอายุล่วงหน้า 90 วัน (3 เดือน)  เพื่อป็นการเวลาวางแผนสำหรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง
  • ในกรณีที่คุณต่อภาษีรถยนต์ช้ากว่ากำหนด ไม่ว่าจะเป็น 1 วันขึ้นไป ทางกฎหมายมีการระบุว่าเป็นการขาดการต่อภาษีรถยนต์ โดยจะนับเวลาตั้งแต่ 1–3 ปี และต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งหมายความว่ายิ่งช้า ค่าปรับจะยิ่งเพิ่มนั่นเอง
  • หากขาดการต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป จะถือว่าป้ายทะเบียนนั้นถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ซึ่งหากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่ จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนให้กับกรมการขนส่งทางบก พร้อมกับชำระค่าปรับจึงจะสามารถรับป้ายทะเบียนรถใหม่ได้
  • ในการต่อทะเบียนรถทุกครั้ง สำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 5 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพ แต่ถ้ามีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จำเป็นต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนจึงจะต่ออายุภาษีรถยนต์ได้
  • ที่สำคัญการต่อภาษีรถยนต์นั้นจำเป็นจะต้องทำการต่อ พรบ รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับก่อน จึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้

การต่ออายุภาษีรถยนต์ต้องทำยังไง

สำหรับการต่ออายุภาษีรถยนต์นั้นก่อนอื่นควรมีการเตรียมความพร้อมด้านเอกสารให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลาในการหาเอกสารให้ยุ่งยาก ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์จะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป)
  • พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ

เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้วก็สามารถยื่นชำระภาษีรถยนต์ได้ที่

  1. กรมการขนส่งทางบก
  2. สำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีบริการชำระภาษีรถยนต์ให้เลือกเพิ่มอีก 2 แบบ ทั้งเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
  3. ที่ทำการไปรษณีย์ จะมีค่าธรรมเนียมการชำระ 40 บาท โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่เจ้าของรถระบุเอาไว้
  4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  5. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ (Shop Thru for Tax) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยให้บริการอยู่ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
  6. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ ต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะส่งตามมาทีหลังตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้ และมีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพิ่มอีก 40 บาท
  7. แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
  8. เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

หากใครต้องการที่จะต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมขนส่งทางบกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

ขั้นตอนการชำระภาษี
  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th (สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีออนไลน์ครั้งแรก ต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์)
  2. เลือกเมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
  3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถและยื่นชำระภาษี
  4. กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือซื้อจากระบบ
  5. เลือกช่องทางชำระเงิน โดยสามารถเลือกชำระได้ผ่านการหักบัญชี, บัตรเครดิตหรือเดบิต, เคาน์เตอร์บริการต่าง ๆ หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
  6. เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน พร้อมเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีทางไปรษณีย์

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์ผ่านแอพพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax

ขั้นตอนการชำระภาษี
  1. ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax สำหรับผู้ที่ใช้งานครั้งแรก
  2. กรอกข้อมูลชื่อ-นามสกุล อีเมล เลขประจำตัวประชน และเบอร์โทรศัพท์ แล้วกดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP”
  3. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับจากอีเมล แล้วกดยืนยัน
  4. ตั้งรหัส PIN 6 หลัก
  5. เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว กดเมนู “ชำระภาษีรถ”
  6. เลือกรูปแบบชำระภาษี
  7. กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หรือ เลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ
  8. เลือกประเภทรถที่ต้องชำระภาษี และกรอกข้อมูลทะเบียนรถ
  9. กรอกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)
  10. เลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ทั่วไปหรือตู้ kiosk เฉพาะในกรุงเทพมหานคร
  11. เลือกช่องทางการชำระเงินได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน

ติดต่อโตโยต้าสุราษฎร์ธานี

โทร : 077-284919
Line Official : @toyotasuratthani
Page : https://www.facebook.com/ToyotaSuratthani.th/